อาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

May 16, 2022 Others

อาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร ป้องกันได้อย่างไร

อาการนิ้วล็อค อาการใกล้ตัวที่ใคร ๆ ก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งที่เรามักจะทำอยู่เป็นประจำ อาจให้คุณประสบปัญหานิ้วล็อคได้ แบบไม่ทันได้ตั้งตัว มาดูวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการนิ้วล็อคกันเถอะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทนเจ็บปวดทรมาน กับอาการนิ้วล็อคอีกต่อไป

อาการนิ้วล็อคเกิดจาก

การอักเสบของของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ทำให้ขยับนิ้วไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลางอนิ้วมือจะไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ ซึ่งอาการอักเสบดังกล่าวเกิดจากการเกร็งนิ้วมือบ่อย ๆ ยิ่งในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยี ช่วยให้คนสบายมากขึ้น แต่เทคโนโลยีนั้นก็เสี่ยงทำให้นิ้วล็อคได้ อย่างการเล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานาน หรือผู้ที่ต้องทำงานแล้วต้องเกร็งมือ รวมไปถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ เป็นต้น

ระยะของอาการนิ้วล็อค

ความรุนแรงของอาการนิ้วล็อค สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรงดังนี้

ระยะที่ 1 : ปวดบริเวณโคนนิ้ว เมื่อกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้าอาการปวดจะรุนแรงขึ้น

ระยะที่ 2 : งอนิ้วแล้วเกิดอาการสะดุด ไม่คล่องเท่าปกติ

ระยะที่ 3 : งอนิ้วไม่ได้เลย หรืองอแล้วนิ้วล็อคทันที จะต้องใช้อีกมือช่วยง้างออก

ระยะที่ 4 : อาการนิ้วติด บวมจนไม่สามารถงอได้ และมีอาการปวดที่รุนแรง

หากเกิดอาการในระยะแรกเริ่มอาจรักษาให้หายได้ แต่หากปล่อยให้ลุกลามจนถึงระยะที่ 3 อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการนิ้วล็อค

วิธีแก้อาการนิ้วล็อคเบื้องต้น

หากอาการยังไม่รุนแรง คุณสามารถคลายอาการนิ้วล็อคในระยะเบื้องต้น ด้วยการแช่นิ้วในน้ำอุ่นเพื่อให้ผ่อนคลาย และบริหารเหยียดนิ้วด้วยการกำมือและแบมือ หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นนิ้วล็อคอีก

วิธีป้องกันอาการนิ้วล็อค

  1. ไม่ควรใช้มือในท่าเดิมแบบนาน ๆ เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือในท่าเดิมเป็นเวลานาน การใช้แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ควรเปลี่ยนท่าบ้าง และมีการพักผ่อนมือบ้าง
  2. หลีกเลี่ยงงานที่มีแรงสั่นสะเทือน หากต้องทำงานที่มีแรงสั่นสะเทือนมาก เช่น การตัดกิ่งไม้ การใช้เครื่องจักร จะต้องใส่ถุงมืออย่างสม่ำเสมอในการปฏิบัติงาน หรือนำผ้ามาพันให้ที่จับมีความนุ่มขึ้น เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนไม่ให้ส่งมาถึงมือโดยตรง
  3. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การยกของที่หนักเกินไปจะทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ทุ่นแรง เช่น รถเข็น เมื่อต้องขนของหนักทุกครั้ง
  4. การบิดผ้าแรง ๆ ก็ทำให้คุณเสี่ยงมีอาการนิ้วล็อคได้อีกด้วย ให้คุณใช้เครื่องซักผ้าในการปั่นผ้าให้แห้งแทนการบิดผ้าแรง ๆ ด้วยมือ

พฤติกรรมเหล่านี้ที่ได้กล่าวไป คุณอาจคิดไม่ถึงว่าสิ่งที่ทำเป็นประจำ จะทำให้คุณถึงขั้นเป็นนิ้วล็อคได้เลย อย่าลืมที่จะแก้ไขความเคยชินเหล่านี้ เพื่อที่จะได้ไม่เป็นนิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคอย่าปล่อยให้นิ้วล็อคบานปลาย

หากคุณปล่อยให้อาการนิ้วล็อครุนแรงขึ้น โดยที่ไม่ได้ทำการรักษาจนลุกลามไปถึงระยะ 3-4 คุณอาจจะต้องทำการผ่าตัดนิ้วมือ เพื่อให้นิ้วมือของคุณกลับมาทำงานได้อย่างเป็นปกติ หรือในรายที่มีอาการปวดขั้นรุนแรง อาจต้องฉีดสเตียร์รอยด์เพื่อระงับอาการปวด แต่การฉีดสเตียร์รอยดืไม่ได้เป็นการทำให้หายขาด จากอาการนิ้วล็อค เป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น อย่าลืมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตด้วย

อาการนิ้วล็อค นอกจากจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน แล้วยังทำให้คุณเจ็บตัวได้อีกด้วย อย่ารีรอที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างที่ได้แนะนำไปในข้างต้น และเมื่ออาการเข้าสู่ระยะที่ 3 ให้รีบทำการเข้าพบแพทย์โดยด่วน หากคุณเข้ารับการรักษาช้า อาจทำให้คุณต้องถึงขั้นเข้ารับการผ่าตัดได้เลย จากอาการตอนแรกที่เหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ให้การรักษานิ้วล็อคของคุณเป็นเรื่องเล็ก ๆ ด้วยประกันสุขภาพ จาก Rabbit Care ให้คุณหมดกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล รับความคุ้มครอง IPD – OPD สูงสุด 20 – 100 ล้านบาท รับค่าห้อง สูงสุด 25,000 บาท/วัน และมอบเงินชดเชยรายได้ สูงสุด 3,500 บาท/วัน ในราคาเบี้ยเริ่มต้นวันละ 8 บาท ผ่อน 0% ได้นานสูงสุด 10 เดือน สนใจสมัครเลย https://rabbitcare.com/health-insurance-opt

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *